JustMakeWeb.com รับทำเว็บไซต์ รับทำเว็บโรงแรม รับทำเว็บขายของ รับทำเว็บบริษัท เว็บสำเร็จรูป รับทำเว็บร้านค้า ออกแบบเว็บไซต์ ใช้งานได้ง่าย รองรับ SEO โปรโมท GOOGLE ให้ติดอันดับได้อย่างรวดเร็ว , ลงโฆษณาฟรี VPS ราคาถูก
รับทำเว็บไซต์
0

ประกันรถยนต์ คืออะไร ? ทำไมต้องทำประกัน ?

2017-12-25 12:26:34 ใน บทความใหม่ » 0 3143           เนื่องจากกฎหมายในประเทศไทย บังคับให้ผู้ใช้รถทุกคนต้องทำประกันภัย อย่างน้อยที่สุดคือ การทำประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535  โดยมีเหตุผลดังนี้


           1. เพื่อคุ้มครอง และ ให้ความช่วยเหลือ แก่ผู้ประสบภัยที่ได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต เพื่อให้ผู้ประสบภัยจากรถโดยให้ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงทีในกรณีที่ได้รับบาดเจ็บ หรือช่วยค่าปลงศพในกรณีที่เสียชีวิต


           2. เพื่อเป็นหลักประกันให้กับโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลต่างๆ ว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาล หลังจากรักษาผู้ประสบภัยจากรถแล้ว


           3. เป็นสวัสดิสงเคราะห์ที่รัฐบาลมอบให้ แก่ประชาชนที่ได้รับความเสียหาย จากเหตุประสบภัยจากรถ


           4. เพื่อเป็นการส่งเสริม ให้การประกันภัยสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการบรรเทาความเดือนร้อนต่างๆ  แก่ผู้ประสบภัย และครอบครัว




 
ประกันรถยนต์ คืออะไร ?  ทำไมต้องทำประกัน ?

 
 

โดยประเภท ของประกันรถยนต์นั้น สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

 

           1. ประกันภาคบังคับ


ประกันภาคบังคับ หรือที่รู้จักในชื่อ ประกัน พ.ร.บ. ซึ่งจะบังคับให้ยานพาหนะทางบกทุกประเภท ที่ทำการจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก ต้องทำเพื่อเป็นการคุ้มครองจากผลกระทบของอุบัติเหตุ โดยไม่คำนึงว่าบุคคลที่ได้รับผลจากอุบัติเหตุนั้น จะเป็นฝ่ายผิด หรือไม่ โดยกฎหมายจะให้ความคุ้มครองในรูปของเงินชดเชย และค่ารักษาพยาบาลตามที่ได้กำหนดไว้  โดยผู้ที่ได้รับความคุ้มครองได้แก่ ผู้ประสบภัย หรือประชาชนทุกคนที่ประสบภัยจากรถ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร หรือแม้แต่คนเดินเท้า หากได้รับความเสียหายแก่ ชีวิต ร่างกาย อนามัย อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุที่เกิดจากรถ และทายาทของผู้ประสบภัย ในกรณีผู้ประสบภัยเสียชีวิต


โทษของการไม่ทำประกันภัยภาคบังคับ

           การฝ่าฝืน ไม่ทำประกันภัยรถ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 นั้น ถูกกำหนดให้ระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท ครับ


ราคาของเบี้ยประกัน

           ประกันภัย พ.ร.บ. นั้น มีการกำหนดราคาของเบี้ยประกันไว้ตามประเภท และการใช้งานเพื่อไม่ให้บริษัทประกันภัยคิดค่าเบี้ยประกันสูงเกินกว่าที่กำหนด โดยราคาของเบี้ยประกันมีดังนี้


           - รถเก๋งไม่เกิน 7 ที่นั่ง ประมาณ 800 บาท


           - รถกระบะ ประมาณ 1,000 บาท


           - รถตู้ ประมาณ 1,200 บาท


           - จักรยานยนต์ ประมาณ 160-650 บาท ตามขนาดความจุกระบอกสูบหรือ ซีซี เครื่องยนต์


 

           2. ประกันภาคสมัครใจ


         ประกันภาคสมัครใจ คือการทำประกันที่ทำขึ้นตามความต้องการของเจ้าของรถ โดยส่วนมากประกันภาคสมัครใจนั้น จะคุ้มครอง มากกว่าประกันภาคบังคับ ซึ่งจะครอบคลุมทั้งรถ ผู้ประสบเหตุ วงเงินคุ้มครอง และสิทธิพิเศษอื่น ๆ แต่ก็มีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าด้วยเช่นกัน โดยประกันภัยรถยนต์นั้นถูกแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ ประเภท 1, 2+, 3+, 2 และ 3 ซึ่งแต่ละประเภทให้ความคุ้มครองต่างกันออกไปดังนี้ครับ


– ประกันภัยรถยนต์ ประเภท 1 เป็นประกันภัยรถยนต์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะประกันภัยประเภท 1 นั้น ให้ความคุ้มครอง ในความเสียหายต่อยานพาหนะทั้งฝั่งผู้ทำประกัน และคู่กรณี รวมไปถึงการบาดเจ็บทางร่างกาย ความเสียหายจากไฟไหม้ โจรกรรม หรือภัยธรรมชาติ นอกจากนี้ยังคุ้มครองไปถึงความเสียหายต่อกระจกรถ และค่าใช้จ่ายในการลากจูงต่างๆ อีกด้วย


– ประกันภัยรถยนต์ ประเภท 2+ จะให้ความคุ้มครองคล้ายกับประเภท 1 แต่จะไม่คุ้มครองยานพาหนะของผู้ทำประกันหากไม่มีคู่กรณี (เช่น ขับชนกำแพง) แต่ยังได้การคุ้มครองในเรื่องความเสียหายจากไฟไหม้ หรือโจรกรรม อยู่นั่นเอง


– ประกันภัยรถยนต์ ประเภท 3+ คุ้มครองชีวิตร่างกาย และทรัพย์สินคู่กรณี รวมถึงการชนยานพาหนะทางบกของรถผู้ทำประกันภัย แต่ไม่คุ้มครองความเสียหายจากไฟไหม้ และโจรกรรม


– ประกันภัยรถยนต์ ประเภท 2 คุ้มครองชีวิตร่างกายและทรัพย์สินของคู่กรณี รวมถึงคุ้มครองความสูญหายและเหตุไฟไหม้ของตัวรถยนต์ผู้ทำประกันภัย


– ประกันภัยรถยนต์ ประเภท 3 คุ้มครองเฉพาะชีวิตร่างกาย และทรัพย์สินของคู่กรณีเท่านั้น


 
ประกันรถยนต์ คืออะไร ?  ทำไมต้องทำประกัน ?

Team CarRental มั่นใจว่าข้อมูลดังกล่าวข้างต้น  จะเป็นประโยชน์กับท่านที่ใช้ยวดยานพาหนะ ทุกท่าน หากท่านต้องการใช้บริการรถเช่าที่มีคุณภาพ และมีประกันภัย พร้อมทั้งการดูแลหลังการขาย อย่างดี สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร.02-693-4944-5 , 090-908-7060 , 090-908-7063 หรือที่ www.teamcarrental.com  ครับ